การตีความ ของ Ars longa, vita brevis

หนึ่งในประเด็นที่มักถูกยกมาพูดคุยมากที่สุดเกี่ยวกับวลีนี้คือคำว่า "ศิลปะ" หรือ "art" (ละติน: ars, กรีกโบราณ: τέχνη tékhnē) ซึ่งมีความหมายดั้งเดิมว่า "เทคนิค, หัตถการ" (ดังเช่นใน The Art of War) ไม่ใช่ศิลปะในแง่ของ "วิจิตรศิลป์" (fine art) คำนี้มาจากงานเขียนของฮิปโปเครติส ซึ่งเป็นแพทย์ยุคโบราณและเขียนวลีนี้เป็นคำเปิดในงานเขียนทางการแพทย์ของเขา บรรทัดต่อมาจากวลีนี้เขียนว่า: "แพทย์จะต้องไม่เพียงแต่เตรียมพร้อมที่จะทำสิ่งที่ถูกต้องโดยตัวเขาเอง แต่จะต้องทำให้ผู้ป่วย ผู้มีส่วนร่วม และบุคคลภายนอกให้ความร่วมมือด้วย"[lower-alpha 1] ฉะนั้น หากจะแปลวลีนี้ให้เข้าบริบท ควรแปลว่า "การที่บุคคลหนึ่งจะชำนาญการในสิ่งใดก็ตาม (เช่นในบริบทนี้คือการแพทย์) ต้องใช้เวลา แต่ขณะเดียวกันบุคคลหนึ่งก็มีเวลาสั้นเหลือเกินที่จะทำ [ฝึกฝนจนชำนาญ]"[3] วลีนี้ยังตีความได้ว่า "แม้ศิลปินจะล่วงลับหรือถูกลืม แต่ศิลปะคงอยู่ตลอดไป"[3]